วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

Economic consideration : Return on Investment (ROI) of Insulations




Econmic consideration abou the insulation or the Return on Investment (ROI)




แนวคิดในการเลือกใช้ฉนวน และจุดคุ้มทุน




ในการเลือกหาฉนวน และการเลือกใช้ความหนาของฉนวน จุดที่เราควรพิจารณา คือ จุดคุ้มทุน เป็นที่ทราบกันแล้วว่าฉนวนสำหรับงานเย็น ที่เหมาะสม คือ ฉนวนที่ทำให้ไม่เกิด condensation หรือ condensation control แต่ถ้าเป็นฉนวนในงานร้อน ก็ต้องคิดว่าฉนวนที่ความหนาเท่าไหร่ ที่ไม่เกิดอันตรายกับผู้ที่อยู่ใกล้ หรือประหยัดพลังงานได้เท่าเรา แต่ถ้าเราคิดอยากติดฉนวนให้หนาขึ้น แน่นอน เราประหยัดพลังงานมากขึ้น แต่คงต้องพิจารณาต่อว่า ฉนวนนั้น ต้องคุ้มกับเงินที่ลงไปด้วยนะคะ




จึงเกิดแนวคิดว่า การเลือกความหนาของฉนวนที่เหมาะสม ความหนาฉนวนที่เหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ แปลเป็นภาษาอังกฤษ คือ Economic Thickness คือ ความหนาของฉนวนที่มีค่าใช้จ่ายของวงจรการใช้ฉนวนต่ำที่สุด ฟังแล้วยังงงๆ ถ้าดูจากกราฟในรูปทางขวามือ เราจะเห็นว่า ความหนาของฉนวนจะมีราคาสูงขึ้น ยิ่งหนามาก ราคายิ่งแพง ยิ่งหุ้มหลายชั้น ราคายิ่งสูง กลับกัน ราคาพลังงานยิ่งถูกลงเมื่อหุ้มฉนวนหนาขึ้นเรื่อยๆ แต่มันจะมีจุดตัดกันระหว่างค่าฉนวน และค่าพลังงาน จุดต่ำสุดนี้แหละที่เราเรียกว่า Economic thickness แล้วเราก็เลือกความหนาตรงนั้น มาเป็นความหนาที่เราจะลงทุน
จากกราฟ เราจะเห็นว่าค่าพลังงานจะลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว เมื่อหุ้มฉนวนหนาขึ้น เพราะค่าพลังงานสูงกว่าค่าฉนวนมาก แต่หุ้มไปเรื่อยๆ กลับกลายเป็นว่าค่าฉนวนเริ่มไต่ระดับมาสูงกว่าค่าพลังงาน ซึ่งค่าฉนวนในที่นี้ เราหมายรวมถึง ค่าฉนวน ค่าติดตั้งด้วยนะคะ อย่าคิดแต่ค่าฉนวนเพียงอย่างเดียว อย่าลืมคิดด้วยนะคะว่าค่าของเงินในอนาคตเป็นอย่างไร เช่น ถ้าอีก 5 ปีข้างหน้าเงินเฟ้อประมาณ 3% ต่อปี หมายความว่า เดิม ปี แรก เราจ่ายเงิน 100 บาท เพื่อซื้อฉนวนมาติดตั้ง แต่ถ้าเรายอมเพิ่มความหนาฉนวนอีก 1 นิ้ว ราคาจะกลายเป็น 200 บาท แต่เราอาจต้องจ่ายเงินเป็น 206 บาทถ้าเราไม่ซื้อในวันนี้นะคะ และกลายเป็นว่า ค่าพลังงาน และค่าฉนวนอาจไม่ได้ค่าที่ต่ำสุดก็เป็นไปได้
นอกจากนี้ การคำนวณหาค่า Econmic thickness ควรเป็นไปอย่างธรรมชาติ จำลองเหตุการณ์จริง และพยายามหาประโยชน์ที่ได้รับจากการติดตั้งฉนวนโดยคิดออกมาเป็นมูลค่าให้ได้ (Quatafication) ไม่เช่นนั้น มันจะกลายเป็นวิมานในอากาศ เช่น ความสบายของอากาศจากการติดตั้งระบบปรับอากาศ (Thermal Comfort occupant) หรือทำให้ต้องเพิ่มอุปกรณ์ปรับอากาศเพิ่มขึ้น หรือการลดการแพร่รังสี การลดปริมาณพลังงาน เหล่านี้ ล้วนเป็นค่าที่บางครั้งวิศวกรผู้ออกแบบประเมินค่าไม่ได้เป็นตัวเลข แล้วทำยังไงดีล่ะ
เราก็เปลี่ยนมาพิจารณาดูค่า ระหว่าง เจ้าของ ต่อ ผู้ติดตั้ง แทน เราเรียกว่าคุณค่าของวิศวกรรม (value of engineering : VE) โดยดูจากความพยายามที่จะเพิ่มอุปกรณ์ทางเครื่องกล เครื่องทำความเย็น ต่อปริมาณพลังงาน ที่ได้รับคืนมา เลยต้องกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาอุปกรณ์ เช่น วิศวกร หรือ สถาปนิก ผู้ออกแบบบอก พิจารณาอายุของระบบทำความเย็นไว้ 15 ปี เราต้องพิจารณา VE แค่นี้นะ ถ้าคิดเกินกว่านี้ กลายเป็นว่า มันแพงไปแล้ว ถ้าเราลงทุนเพิ่ม หรือว่าถ้าแค่ 10 ปี แล้วเราใช้อุปกรณ์ดีเกินไป มันก็ไม่ได้ VE อีกนั่นแหละ




1 ความคิดเห็น:

Prut กล่าวว่า...

อยากติดต่อเจ้าของบล๊อกเรื่องงานหนะครับ

อยากได้ตัวเลือกในการเสนองานหุ้มท่อเพื่อลดเสียงดัง
และขอคำปรึกษาด้านชนิดฉนวน

ป.ล. ไม่รู้ว่า บ.เจ้าของบล๊อกขายแต่ ฉนวน หรือรับงานติดตั้งด้วย

ถ้าสนใจติดต่อ พฤทธิ์ 086-3051522 หน่อยนะครับ