วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

หมอก ความชื้น กับการควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในระบบปรับอากาศ

กรุงเทพ ฯ ตอนนี้กลายเป็นเมืองในหมอก ยังกะอยู่บนภูเขาสูงแหนะ เลยลองเข้าไปที่ เว็บ

ปรากฎว่า กรุงเทพฯ ของเราความชื้นสูงถึง 100% ไม่อยากจะเชื่อเลย เลยหวนคิดไปถึงงานติดตั้งฉนวนตอนนี้จะเป็นอย่างไรหนา มันจะ condense กันมากน้อยแค่ไหนหนา
คุณทราบหรือไม่ว่า ทุกๆ ความชื้น 1 % ที่เพิ่มขึ้นในบรรยากาศ ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนของวัสดุประเภทเส้นใย มันเพิ่มขึ้นไปถึง 7.5% มันเป็น rule of thumb ได้เลยนะคะ ข้อนี้ ทำให้เราถึงกับผงะ เพราะถ้ามาคำนวณ เรื่องของ condensation ในฉนวนหุ้มท่อส่งน้ำเย็น ท่อส่งสารทำความเย็น หรือท่อส่งลมเย็น อะไรก็ได้ที่เย็นๆ กับอุณหภูมิบ้านเรา
เช่น ณ วันนี้ อุณหภูมิบรรยากาศ 22 C ความชื้น 100% RH แล้วถ้าเราควบคุม อุณหภูมิของน้ำเย็นไว้ที่ 7 C ดูที่ web bulb, dry bulb จุดวิกฤต หรือ dew point temperature มันอยู่ที่ 22 C ดังนั้น ถ้าร้อนอีกนิดเดียว หรือมีคนเดินผ่านให้มันร้อนขึ้นนิดหนึ่ง แถวท่อ ก็ condense แล้วค่ะ แต่มันอาจมีตัวช่วย คือ ความเร็วลม ถ้าลมพัด มันคงมีอุณหภุมิต่ำลง โลกไม่ได้โหดร้ายกับท่อน้ำอย่างที่คิด ถ้ามีลมพัด อุณหภูมิที่ผิวฉนวนมันคงไม่สูงขึ้นไปหรอกนะ ก็เลยได้ idea ว่า ถ้าตอนมันชื้นอย่างนี้ เปิดอากาศให้โล่ง มีพัดลมพัด ฉนวนมันยังคงประสิทธิภาพได้บ้าง แต่ถ้าเมื่อไหร่ปิดทึบในห้อง แล้วอากาศชื้นแบบนี้ ก็เป็นอันว่า ฉนวนนั้นๆ มันคงเปียก และใกล้ถึงกาลอวสานของมันก็เป็นได้นะคะ
ระวังสุขภาพด้วยนะคะ เพราะมันชื้นนี่แหละ เลย condense ในตัว เชื้อโรคก็ชอบ เพราะตัวเราอุ่น เป็นหวัดกันงอมแงม เพราะความชื้นไป condense ในตัวนั่นเอง มาเกี่ยวกันได้ยังงัยนี่

ไม่มีความคิดเห็น: