วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

การออกแบบกล่องคลอบเสียงขนาดใหญ่ (Large Acoustic Enclosure)


กล่องครอบลดเสียงขนาดใหญ่ (Large Acoustic Enclosure) ที่มีฉนวนซับเสียง (Sound-Absorbing) ภายใน

กล่องครอบลดเสียง ถูกนำมาใช้เมื่อขนาดของผนังของกล่องครอบ และ ปริมาตรของกล่องมีค่า resonant modes สูง ในช่วงคลื่นความถี่ที่สูง และวิธีการทางสถิติ ในการทำนายระดับเสียงภายใน และการสั่นสะเทือน และเสียงที่ดังออกมาจากผนังของกล่อง กล่องครบลดเสียงขนาดใหญ่นี้มักนำมาใช้ในการลดเสียงในอุตสาหกรรม ที่มีการส่งผ่านพลังงานเสียงได้หลายทาง ดังภาพที่ 1 โดยเสียงที่สามารถดังผ่านเส้นทางหลายทาง ได้แก่ (1) เสียงดังผ่านผนังของกล่องครอบลดเสียง (2) เสียงรั่วผ่านจุดเปิด (3) เสียงดังผ่านโครงสร้าง (structure-borne)

เสียงดังกลุ่มที่ 1 เป็นเสียงที่ดังผ่านผนังเกิดจากเสียงที่ดังมาจากการกระตุ้นของพลังงานเสียงภายในกล่องผ่านทางผนังของกล่องครอบเสียง ทำให้เกิ

ดเสียงดังกระจายออกมาจากผนังของกล่องครอบ เสียงที่ดังผ่านมาในลักษณะนี้เป็นที่เข้าใจ และสามารถ

ทำนายระดับเสียงที่ดังออกมาได้อย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรม

เสียงดังในกลุ่มที่ 2 เสียงที่ดังผ่านรูรั่ว

หรือช่องเปิดของกล่องครอบ เช่น ช่องเปิด หรือท่อระบายอากาศภายใน หรือช่องระหว่างประเก็นกันอากาศรั่ว

ของกล่องครอบ พื้น หรือ ประตูเปิดของกล่อง ซึ่งระดับเสียงจากการดังผ่านช่องเปิดเหล่านี้ ได้มีการศึกษา

และเป็นที่เข้าใจได้บ้าง แต่เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก

ส่วนเสียงที่ดังกลุ่มที่ 3 เป็น

เสียงที่ดังโดยการกระจายผ่านพื้นผิวที่เป็นของแข็งที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่สั่นสะเทือนภายในกล่องครอบ

แกน หรือ ท่อที่เจาะผ่านผนังของกล่องครอบลดเสียง หรือการสั่นสะเทือนของพื้นที่ไม่ได้ถูกกล่องครอบไว้ การลด

เสียงในกลุ่มนี้ยากที่จะทำนายถ้าไม่มีข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา ความพยายามที่จะลดเ

สียง ต้องเป็นผลจากการกันไม่ให้มีการเชื่อมต่อของโครงสร้าง หรือของแข็ง

ในการออกแบบ กล่องครอบลดเสียง

ควรมีการควบคุมเสียงที่ดังผ่านเส้นทางต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้

การวิเคราะห์รูปแบบการทำนายเสียงที่ลดลงในคลื่นความถี่สูง

แหล่งกำเนิดที่อยู่ในกล่องค

รอบลดเสียงขนาดใหญ่ จะกระจายเสียงในระดับเดียวกันกับเมื่อแหล่งกำเนิดนั้นไม่มีกล่องครอบลดเสียงอยู่

พื่อให้สามารถทำให้เสียงลดลงได้ในระดับมากๆ ต้องมีการหน่วง (dissipate) พลังงานเสียงในเปอร์เซ็นที่สูงใ

ห้กลายเป็นพลังงานความร้อนภายในกล่องครอบลดเสียงอย่างถูกต้อง

การทำนายระดับเสียงที่ลดลงภายใน

กล่องครอบเสียงขนาดใหญ่ โดยการคำนวณหาค่า Sound transmission ของกล่องครอบที่ผ่านผนัง (WTW) , ค่า Sound transmission ที่ผ่าน silencer (WTS) ,

ค่า Sound Transmission ที่ผ่านช่องเปิดต่างๆ (WTG) และค่า Sound Transmission ผ่านโครงสร้าง Structure borne (WSB)โดยเราสามารถประมาณค่า insertio

n loss ของกล่องครอบได้ตามสมการนี้

IL 10 log Wo/[WTW + WTG+ WTS + WSB] dB [1]

ถ้าเราสามารถออกแบบให้ก

ารลดเสียงผ่านผนังของกล่องครอบ และ silencer ได้ดีสามารถยุบค่าในสมการที่ [1] ได้ดังนี้

IL Rw + 10log (A/Sw) dB [2]

เมื่อ A = (Swαw + Siαi) โดยสมการจะใช้ได้ดีเมื่อค่าสัมประสิทธิ์ การดูดกลืน

เสียงของ lining (αw ≈ 1)

Sw = Total interior wall surface

Siαi = total absorption in the interior in excess of the wall absorption (i.e. machine body itself)

มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อ insertion loss ของกล่อง

ครอบลดเสียงได้แก่

  1. Absorption coefficient ของ lining (α) ค่า IL จะเพิ่มขึ้น ถ้า ดูดกลืนจากการสะท้อนของเสียงมี มากขึ้น
  2. ระยะทางระหว่างเครื่องจักร ถึงผนังของกล่อง ถ้าระยะทาง d ลดลง มากกว่า ค่าวิกฤต IL จะลดลง ที่ช่วงคลื่นความถี่ต่ำ
  3. ความหนาของผนังข องกล่องเพิ่มขึ้น ค่า IL จะเพิ่มขึ้น
  4. ความหนาแน่นของผนัง M) เพิ่มขึ้น ค่า IL จะเพิ่มขึ้น
  5. ความเร็วของคลื่นในทิศทางตาม longitudinal ของ ผนัง CL = ทำให้ค่า IL ลดลงที่ช่วงคลื่นความถี่ต่ำกว่า critical frequency (fc)
  6. ค่า critical frequency (fc) ของผนัง fc = c2/1.8CLh ถ้า fc สูงขึ้นต่อความหนาแน่นของผนัง ค่า IL จะเพิ่มขึ้น
  7. การกระจายเสียงของผนัง เพิ่มขึ้นทั้งภายใน i) และภายนอกo) ทำให้ค่า IL ลดลง
  8. ความกระด้าง และแข็งตัวของผนัง (stiffness) ทำให้ ค่า IL ลดลง
  9. รูรั่วที่มากขึ้น ย่อมเป็นผลทำให้ IL ลดลง จึงต้องให้ความระมัดระวัง ในการออกแบบรอยต่อต่างๆ ที่เป็นของแข็ง
การต่อเชื่อมของโครงสร้างเป็นผลทำ ให้เกิดการสั่นสะเทือน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของการลดเสียง IL จะลดลง


2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สวัสดีครับ
ผมกำลังจะทำห้องครอบเสียงเครื่องซีเอ็นซี ขนาดใหญ่ โดยใช้ผนังห้องเย็นมาทำเป็นโครงสร้าง (แผ่นหนา 60 มม.ภายในเป็น PU.) โดยภายในห้องจะใช้วัสดุเป็นโฟมมาแปะทับหนา 20 มม. (LDPE) แต่ไม่ทราบว่าวัสดุตัวนี้สามารถดูดซับเสียงได้มากน้อยเพียงใด หมายถึงว่าจะลดเสียงลงได้กี่เดซิเบล โดยที่ผมเคยวัดค่าเสียงขณะเครื่องจักรทำงานได้ ประมาณ 93 - 96 dBA หรือหากว่าคุณมีวัสดุประเภทอื่นที่ดีกว่า กรุณาแนะนำด้วยครับ

me กล่าวว่า...

ปัญหา เครื่อง CNC ต้องทราบ สเปคตรัมของเสียง ที่เป็นแหล่งกำเนิ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างห้องเครื่อง การใช้ผนังห้องเย็นมาครอบ และต้องทราบว่า มีคนเข้าไปทำงานในห้องหรือไม่ ถ้ามี การเลือกวัสดุที่ดูดกลืนเสียง ที่ผนังน่าจะเหมาะ แต่การเลือกใช้ผนังห้องเย็นที่ภายในเป็น PU ไม่สามารถ ประสิทธิภาพในการดูดกลืนเสียง ใช้ได้ไม่ดีเท่าใดนัก เนื่องจาก PU มีรูพรุน ต่ำ พลังงานเสียงที่กระทบผนัง อาจเกิดการสะท้อนที่ผนังห้องเย็นได้ จึงเป็นเหตุ ให้เสียงอาจเพ่มขึ้นภายใน แต่ ในส่วนของเสียงที่ดังออกมาภายนอก ผนัง ต้องมีการพิจารณาหลายประเด็น ได้แก่ น้ำหนักของผนัง รูรั่ว ของผนัง และ การสั่นสะเทือนของผนัง และพื้น และโครงสร้างที่ต่อเชื่อมกับแหล่งกำเนิดเสียง ถ้าสนใจ จะแก้ปัญหาจริง รบกวน อีเมล์มาคุย หรือ โทรศัพท์ มาคุย จะดีกว่า ค่ะ เพราะมีรายละเอียดมาก ที่ 081-8175295