วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หลากหลายกลยุทธในการลดเสียง (Noise control strategies)

กลยุทธในการควบคุมเสียงดัง บ่อยครั้งจำเป็นต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆ ใส่เข้าไปในการลดเสียง มากกว่า ที่จะใช้ อุปกรณ์ที่มีอยู่ ผลที่ตามมา คือ ค่าใช้จ่ายในการลดเสียงมักแพง ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการควบคุมสียงตั้งแต่ขบวนการออกแบบเครื่องจักร หรือระบบต่างๆ จึงมีราคาถูกกว่า การออกแบบระบบการควบคุมเสียงในภายหลัง จากที่มีการร้องเรียนว่า อุปกรณ์ หรือระบบมีเสียงดัง
การควบคุมเสียงดัง มักต้องตอบสนอง ต่อการร้องเรียนเฉพาะจุด หรือ เฉพาะเรื่อง ซึ่งเราไม่จำเป็นต้อง ควบคุมเสียงดัง ในทุกๆ ตำแหน่ง หรือ ทุกๆ จุดที่มีเสียงดัง หรือ เรียกง่ายว่า เกาให้ถูกที่ ซึ่ง ระดับเสียงที่ดังเกินมานี้ ต้องเกิดจากการวัดระดับเสียงที่ถูกต้องเช่นกัน และระดับเสียงที่จะทำการลดต้องมีการประมาณก่อนว่า ควรลดได้ประมาณเท่าใดตามวิธีการลดเสียงที่คาดไว้ แต่บ่อยครั้ง เราพบว่า ระดับเสียงที่ลดนี้ ไม่สามารถทำได้ และถ้าทำได้ มักมีราคาสูงมาก ดังนั้น ต้องมีการประเมินความคาดหวังว่า ระดับเสียงที่ลดได้ ควรอยู่ที่เท่าใด และให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปในการควบคุมเสียง

หลักทั่วไปที่นำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการลดเสียง มักมาจากกฏหมายควบคุมการเสียงดังในพื้นที่ทำงาน หรือในชุมชน ในพื้นที่ชุมชน ควรคำนึงถึง ระดับเสียงที่มีอยู่แล้ว Background ที่อุณหภูมิบรรยากาศ (Ambient) และบวกไปอีกประมาณ 5 เดซิเบล(เอ) จากระดับเสียงที่ไม่มีอุปกรณ์ในชุมชน หรือพื้นที่นั้นๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฏหมายว่า ยอมให้มีระดับเสียงดังได้เท่าไหร่ ระดับเสียงอีก 5 เดซิเบล(เอ) ที่เพิ่มขึ้น เป็นระดับเสียงในช่วงความถี่กว้าง (board band noise) ที่มีระดับเสียงที่มีความถี่เดี่ยวที่ยังรับไม่ได้อยู่ (single frequencies)

การจัดการกับการร้องเรียนเรื่องเสียงดังจากชุมชน ทั้งระดับเสียงที่ทำนาย และระดับเสียงที่วัดได้ เราควรต้องคิดเผื่อไว้มากๆ ว่า ต้องสร้างระบบการควบคุมเสียงให้กับเสียงที่ดังที่สุดในของระบบ หรือ ระดับเสียงที่ดังที่สุดของอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งระดับเสียงในชุมชนมักมีระดับความดังเปลี่ยนแปลงประมาณ +/- 10 เดซิเบล(เอ) จากระดับความดังเฉลี่ยที่สภาวะ Ambient (เช่น ความเร็วลม อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง และ turbulence ของสภาพอากาศ) เป็นที่ทราบกันดีว่า ก่อนที่จะมีการร้องเรียน ผู้ร้องเรียน รับรู้ถึงระดับเสียงแบบไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตัวแล้วจึงร้องเรียน และเมื่อรู้ตัวแล้วยิ่งเข้ามาเพ่งเล็ง มากขึ้น และรู้สึกว่า เสียงดังมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หลังจากที่ได้ทำการลดเสียงแล้ว และถึงแม้ว่า ระดับเสียงที่ลดได้จะมากแล้ว และผ่านกฎหมายการควบคุมเสียง แต่เราพบว่า บ่อยครั้ง ยังมีการร้องเรียนเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้น การลดปัญหาการร้องเรียน จึงดีกว่า ที่เราจะออกแบบระบบการควบคุมเสียง ที่เป็นที่รับทราบโดยทั่วกันก่อนในชุมชน และยังมีราคาถูกกว่าอีกด้วย

ในการนำเสนอทั้งระบบการควบคุมเสียง และ สินค้าใหม่ ในการควบคุมเสียง เราต้องมีการบ่งชี้ หรือหาแหล่งกำเนิดเสียงที่ชัดเจน และจัดลำดับของแหล่งกำเนิดเสียงว่า แหล่งใดดังที่สุดไปหาต่ำที่สุด และเมื่อมีการประเมิน เลือกวิธีการควบคุมเสียงที่ชัดเจนแล้ว รวมถึงการคิดค่าใช้จ่ายในการลดเสียงแล้ว จากทางเลือกต่างๆ ในการลดเสียง ตามที่ได้กล่าวข้างต้นว่า การใช้ระบบใหม่มาคลอบเพื่อควบคุมเสียง มักมีราคาสูงกว่า ระบบ หรืออุปกรณ์ที่กำเนิดเสียงต่ำ ดังนั้น ในการทำงาน เราควรตั้งกระทู้ถามคำถามเกี่ยวกับความคุ้มค่า ในการเพิ่มอุปกรณ์ลดเสียงในแต่ละจุด เพื่อให้แหล่งกำเนิดเสียงยังสามารถทำงานต่อไปได้ โดยเรียงลำดับความสำคัญของการทำงานของระบบเทียบกับราคาในการควบคุมเสียง และความเป็นไปได้ในการเพิ่มระบบควบคุมเสียง
การทำนายระดับเสียงในชุมชน และการคำนวณผลของการใส่ระบบการควบคุมเสียงมักมาจากการพิจารณาระดับเสียงในช่วงความถี่แบบ Octave โมเดลที่ใช้ในการทำนายมักมีความถูกต้องไม่เพียงพอในการทำนายระดับเสียงในย่านความถี่ที่ความละเอียดมากขึ้น finer frequency resolution หรืออาจกล่าวได้ว่า ในย่านความถี่ที่ละเอียดมากขึ้นนี้ ไม่สามารถทำการทำนายการควบคุมเสียงได้อย่างถูกต้อง บางครั้ง เราพบว่า การทำนายตามย่านความถี่ของ Octave นี้ มักได้ผลที่อาจสูงกว่า หรือต่ำกว่า ค่าที่ได้จากการคำนวณตามโมเดล บางครั้งจำเป็นต้องมีการทำนายค่าตาม 1/3 ของย่านความถี่ของ Octave เพื่อให้การทำนายได้ละเอียด และถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น

ถ้าการร้องเรียนมาจากผู้ทำงาน การควบคุมเสียงต้องทำให้ผ่านกฏหมาย และลดความสูญเสียระบบการได้ยิน เป้าหมายในการควบคุมเสียงต้องทำให้ระดับเสียงดังไม่เกิน 80 เดซิเบล (เอ) เป้าหมายในการลดเสียงจะได้กล่าวในบทที่ 4 การวัดและการคำนวณควรทำในย่านความถี่อย่างน้อยที่ Octave หรือที่ 1/3Octave โดยมีการพิจารณาความถี่หรือโทนเสียงเฉพาะที่ต้องการควบคุม โดยอาจใส่ระบบการควบคุมแยกต่างหากอีกครั้งหนึ่ง
รายละเอียดในการวัดการควบคุมเสียง หาอ่านได้จาก ISO 11690/2 (1996)
ปัญหาเรื่องเสียงดัง ที่ได้อธิบายมาข้างต้น นี้ เป็นปัญหาจากเสียงเดินทางผ่านมายังมนุษย์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับเสียง (receiver) การควบคุมเสียงอาจทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งมักเป็นผลจากการพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน และการได้รับการยอมรับในประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงระบบการเดินทางของเสียง และในด้านของผู้รับเสียงเอง ซึ่งเราแก้ปัญหาได้ทั้งการลดเสียงที่เดินทางมา หรือ การลดเสียงที่ตัวผู้รับเสียง เช่น การหาอุปกรณ์ป้องกันเสียงให้กับผู้รับได้เช่นกัน


การปรับปรุงแหล่งกำเนิดเสียงให้มีเสียงลดลง
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของพลังงาน เพื่อลดเสียงดัง เป็นการควบคุมเสียง เช่น เสียงที่เกิดจากการกระแทก หรือเจาะ การลดทำโดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน โดยเปลี่ยนจากระบบของขบวนการทำงานเชิงกล (Mechanical process)
เสียงที่ดังกระแทกระหว่างของแข็ง ควรทำการลด เช่น การไหลของกระป๋องลงในตระกร้า อาจลดได้โดยการลดความสูง ไม่ให้กระป๋องกลิ้งลงมาทันที หรือการกลิ้งกระป๋องอาจใช้แผ่น กดกระป๋องไว้ และตัวรับกระป๋องที่กลิ้ง อาจปรับระดับความสูงได้ เป็นต้น
การเปลี่ยนวัดสุ จากเหล็กเป็นพลาสติก เป็นตัวอย่างที่ดีในการลดเสียง
การใช้ระบบที่ใช้ไฟฟ้า แทนการใช้ระบบขับด้วยลม ก็เป็นการลดเสียงอีกวิธีหนึ่ง
การขบกันของเกียร โดยการแทนที่ Spur gear ด้วย Helical gear มักทำให้เสียงลดลงได้ถึง 10 dB
การใช้ระบบการขับเครื่องเชิงกล แทนการขับเคลื่อนด้วยลมในงานปั้ม หรือกด หรือยิ่งไรเวทด้วยลม
การใช้มอร์เตอร์ไฟฟ้า แทนระบบเครื่องยนต์แบบการขับเคลื่อนด้วยกังหัน หรือ ใช้สายพานลำเลียงด้วยระบบ ไฮโดรลิค แทนระบบกล่องเกียร ที่มีเสียงดังกว่า
ฯลฯ อ่านในหนังสือเอานะจ๊ะ เยอะๆ
การสร้างโปรแกรมการควบคุมเสียงในพื้นที่ปัจจุบัน ทำได้ดังนี้
ประเมินสภาพแวดล้อม ที่มีปัญหาเสียงดัง และทำการวัดหาค่า noise contour
ตั้งวัตถุประสงค์ในการลดเสียงที่ชัดเจน
ชี้ตำแหน่งที่เสียงมีการเดินทาง และขบวนการกำเนิด และกระจายเสียงที่ชัดเจน
ลำดับแหล่งกำเนิดเสียงที่ทำให้เสียงดังเกินกว่า กำหนด หรือ ระดับที่รับได้
สร้างรูปแบบการลดเสียง และทำตารางการลดเสียง
ทำการลดเสียงตามแผน
ประเมินผลว่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทเรียนเรื่อง Sound Proofing 101

บทเรียนเรื่อง Sound proofing 101


หัวใจของการทำงานเกี่ยวกับ Sound Proofing เพื่อทำการลดเสียงในบริเวณต่างๆ ประกอบด้วย 3 สิ่ง หลักๆ

1. Space ต้องการพื้นที่ ยิ่งมีพื้นที่มาก ยิ่งทำให้สามารถลดเสียงได้มากขึ้น เช่น วันหนึ่ง คุณเข้าไปในโรงงานที่มีพื้นที่จำกัด เสียงจะดังมากกว่า เสียงในห้องที่คับแคบ วันก่อนไปเข้าโรงงานไฟฟ้า ที่ควรมีพื้นที่ในการตั้งโรงงานเป็นหลาย กิโลเมตร นั่นหมายถึงเสียงก็จะลดลง และไม่ไปทำลายโสตประสาทของคนรอบข้าง

2. Mass จำไว้ว่า อยากกั้นเสียง ด้วยผนังใดๆ ก็ตาม ยิ่งผนัง หนัก ยิ่งกั้นเสียงได้ดี โอคิโดคิ

3. Dampening อธิบายกันง่ายๆ ก็ คือ ความสามารถในการลดเสียง จากการสั่นสะเทือนของวัสดุอุปกรณ์ เช่น เมื่อ เราถือแก้วน้ำไว้ แล้วห่อผ้า กับวางไว้ในกล่องไม้ เสียงที่ก้อง และสั่นสะเทือนย่อมต่างกัน หลักนี้ใช้ในการลดเสียง

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Sound Proof 101

What a good will for this team of sound proof insulation. After I read the article in this web page for a while, I found that this is very comprehensive web page and useful for my job very much. I think we can use it correctly to improve my knowledge of noise in industry.

The link of this web site is




เจอเว็บใหม่ สอนแบบง่ายๆ เข้าใจง่าย เกี่ยวกับวิธีการลด และควบคุมเสียงในระบบต่างๆ ประเภทประตู ผนัง และอื่นๆ ลองอ่่านดูแล้ว มันเพิ่มความรู้ความเข้าใจมากขึ้นอีกเยอะ



การวัดเสียง ตามแนวทางของกฏกระทรวง (Noise Measurement According to the Thailand Code)


วันนี้ได้ไปอ่านบทความเกี่ยวกับการวัดเสียง ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของกฏกระทรวง ใครอยากอ่านแล้ว เข้าใจเรื่องเสียง แล้วขายได้มากยิ่งขึ้น อ่านดูนะคะ ดีมากๆ บ้านเราไม่ได้ขาดการควบคุมนะคะ ถ้าทุกคนร่วมกันทำ








การตรวจวัดเสียง ตามแนวทางของกรมอาชีวอนามัย กฏกระทรวง
Noise Measurement According to the Thailand Code


การควบคุมเสียงแบบต่างๆ เบื้องต้น
Basic of Noise Control (Thai version)


การสูญเสียการได้ิยินจากเสีย
Noise induce Hearing (Thai version)


การควบคุมมลพิษทางเสียงในโรงซอยหินแกรนิต
Noise Control Case Study in Granite Factory


การควบคุมเสียงในอาคาร
Acoustic Noise control in the building (Thai version)



โครงการอนุรักษ์การได้ยินเพื่อป้องกันอันตรายจากเสียงในแผนกตัด/บรรจุ และแผนกเป่า/พิมพ์
Project of Noise control in the cutting, packing, blowing and printing factory


ลิงค์ของเว็บไซท์ ของ กรมทรัพยาการธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
Link of the Pollution department





วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Noise barrier

In Thailand there are so many noise barrier along the express way in Bangkok. I found that there few suppliers for this application in Thailand. Last Friday I have a chance to talk with one supplier. One of the noise barrier is made from fiber glass reindorce with cement. Some is made from plastic reinforce with fibre glass. Weight of one pannel is about 20-30 kg. Some is about 120 kg/sqm. This is related to the weight, frequency of noise and sound pressure level. This kind of noise barrier can be made the texture on the surface,which sometime we make it for the absorption aspect. I would like this article just to share that I am interested in this application, but in the future I may need to create them myself.

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

แนวทางในการออกแบบ และเลือกใช้ฉนวน Specification guide for insulaiton

วันนี้ไปอ่าน ลิงค์ จาก http://www.insulation.org/techs/gtips.cfm

พบข้อมูลเกี่ยวกับ แนวทาง ใครอยากรู้จัก ฉนวน เยอะว่ามันมีกี่แบบ ก็มาอ่านได้นะคะ จาก เว็บนี้ เราพบว่า มันมีประโยชน์ในด้านฉนวนที่ใช้งานในหลายๆ ระบบ ไม่ว่า จะเป็นฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวน ยาง ฉนวน พอลิยูรีเธรน ฉนวนพอลิเอธิลีน ฉนวนแคลเซี่ยมซิลิเกท ฉนวนโฟมกลาส ฉนวนเพอร์ไรท์ ฉนวนฟีนอลิค และอื่นๆ อีกมากมาย

ในอเมริการ ยังมีการกำหนด มาตรฐานการทดสอบของฉนวนแต่ละประเภท เอาไว้ตรวจสอบ ชนิดของฉนวน เราเอง พบว่า ถ้าเราสามารถที่จะ จำแนกมันออกมาให้ชัดเจน เราจะไม่หลงทางไปกับมัน

แต่อย่างว่า บ้านเรายังไม่มีกฏหมายอาคาร ที่กำหนดในเรื่องของการใช้พลังงาน หรือการลดพลังงาน จากการใช้ฉนวน ในอาคาร หรือในระบบปรับอากาศ ก็เลย ไม่มีการกำหนด มาตรฐานของฉนวนไปด้วย

ปัญหามันก็เลย ค่อยๆ เกิดมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของ ความปลอดภัยในด้านอัคคีภัย บ้านเราพอระบุ แค่ว่า ไม่ลามไฟ มันก็เลย เลี่ยงบาลี กันได้เยอะแยะ อยากใช้กระดาษในหน้าของอินเตอรเน็ตนี้ เป็นเวทีบอกว่า เมื่อไหร่เราจะมีมาตรฐานชัดเจนในเรื่องมาตรฐานของไฟนะ เช่น จะดูไม่ลามไฟ ในแต่ละพื้นที่ มันก็ควรบอกชัดว่า ลามได้ไม่เกินมาตรฐานอะไร ควันไม่เกินเท่าไหร่ และ ต้องมีควันพิษเป็นอะไร ได้บ้าง

แต่ก็ยากนะ ผลประโยชน์มันเยอะ

การให้ incentive กับผู้ทำการซ่อมบำรุงฉนวนในงานระบบ ( Maintenance Mechanical Insulation )

จะดีไหม ถ้าคนไทย เริ่มสร้างแรงจูงใจโดยการลดภาษีให้กับผู้ที่ลดการใช้พลังงาน โดยติดฉนวนในบ้าน

จากข่าวข้างล่างนี้ ที่อเมริกา เค้าเริ่มกันแล้ว โดยการให้สิทธิประโยชน์ในการลดภาษีจากผู้ที่ติดตั้งฉนวนในบ้าน

เราเริ่มทดลองใช้ฉนวนยางดำ หนาประมาณ 10 มิลลิเมตร ไปปูไว้บนฝ้า ปรากฎว่า มันทำให้เราปิดแอร์ได้ทุกวันได้เร็วขึ้นถึง 1 ชั่วโมง มันก็ไม่เลว นะ เพราะว่า ประหยัดแอร์ไปได้วันละชั่วโมง เดือน ละ 30 ชั่วโมง ปีละ 365 ชั่วโมง ประหยัดเงินไปได้ปี ละประมาณ 3800 บาทต่อปี (กรณีใช้เครื่องประมาณ 1800 BTU)

ไม่เลวนะจ๊ะ ลงทุนในห้องประมาณ 36 ตร.ม. ใ้ช้เงินประมาณ 4500 บาท คืนทุนประมาณ 14 เดือน ก็ได้ค่าฉนวนคืนมาแล้วนะคะ ใครอยู่คอนโดฯ บ้านอากาศร้อนมากๆ ก็ลองดูซะหน่อย ไม่แพงเกินไปหรอกนะ จะบอกให้

แต่อย่าลืมถ้าบ้านไหน หน้าต่างหันตรงกับแดด ใช้่ผ้าม่าน หรือกั้นฉนวนยิ่งช่วยนะคะ



Mechanical Insulation Installation Incentive Act of 2009 Introduced in House of Representatives

Rep. Deborah Halvorson (D-IL) presented House Resolution 4296 on December 11, 2009, to amend the tax code to provide an incentive to install and maintain mechanical insulation. The Mechanical Insulation Installation Incentive Act (MIA 09) creates an incentive for commercial and industrial entities to go beyond current minimum requirements for mechanical insulation systems (as defined by the American Society of Heating, Refrigeration, and Air-Conditioning Engineers 90.1-2007) in new construction or retrofit projects, as well as execute timely maintenance. This tax incentive will create jobs, boost energy efficiency, and reduce carbon emissions, helping reduce our country's dependence on foreign energy sources, protecting our environment, and stimulating our economy.

Mechanical insulation encompasses thermal, acoustical, and personnel safety requirements for mechanical piping and equipment and heating, ventilating, and air conditioning applications. It is used in a variety of commercial buildings and industrial facilities, including power plants, refineries, hospitals, schools, universities, government and office buildings, high-rise multi-family dwellings, hotels and motels, and retail and wholesale establishments.

MIA 09 provides facility owners an incentive to increase the use of or maintenance of mechanical insulation by lowering their tax expense in the fiscal year in which the mechanical insulation was put in service or maintenance completed. If the property owner is not subject to U.S. income tax, the tax deduction would transfer to the primary contractor for the property, providing an incentive for energy efficiency regardless of the property owner's tax status.

The incentive will reduce the time it takes for the energy cost savings to pay for the initial investment by 37 percent to 69 percent for new construction or retrofit and 16 percent to 23 percent for maintenance applications. It will also support the development of more than 89,000 sustainable jobs for skilled craft personnel to install and maintain the mechanical insulation systems, in addition to technical/engineering, manufacturing, sales, administrative and supporting craft jobs.

This initiative is supported by NIA and International Association of Heat and Frost Insulators and Allied Workers. For more on MIA 09, please visit www.insulation.org/mimi.