วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หลากหลายกลยุทธในการลดเสียง (Noise control strategies)

กลยุทธในการควบคุมเสียงดัง บ่อยครั้งจำเป็นต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆ ใส่เข้าไปในการลดเสียง มากกว่า ที่จะใช้ อุปกรณ์ที่มีอยู่ ผลที่ตามมา คือ ค่าใช้จ่ายในการลดเสียงมักแพง ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการควบคุมสียงตั้งแต่ขบวนการออกแบบเครื่องจักร หรือระบบต่างๆ จึงมีราคาถูกกว่า การออกแบบระบบการควบคุมเสียงในภายหลัง จากที่มีการร้องเรียนว่า อุปกรณ์ หรือระบบมีเสียงดัง
การควบคุมเสียงดัง มักต้องตอบสนอง ต่อการร้องเรียนเฉพาะจุด หรือ เฉพาะเรื่อง ซึ่งเราไม่จำเป็นต้อง ควบคุมเสียงดัง ในทุกๆ ตำแหน่ง หรือ ทุกๆ จุดที่มีเสียงดัง หรือ เรียกง่ายว่า เกาให้ถูกที่ ซึ่ง ระดับเสียงที่ดังเกินมานี้ ต้องเกิดจากการวัดระดับเสียงที่ถูกต้องเช่นกัน และระดับเสียงที่จะทำการลดต้องมีการประมาณก่อนว่า ควรลดได้ประมาณเท่าใดตามวิธีการลดเสียงที่คาดไว้ แต่บ่อยครั้ง เราพบว่า ระดับเสียงที่ลดนี้ ไม่สามารถทำได้ และถ้าทำได้ มักมีราคาสูงมาก ดังนั้น ต้องมีการประเมินความคาดหวังว่า ระดับเสียงที่ลดได้ ควรอยู่ที่เท่าใด และให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปในการควบคุมเสียง

หลักทั่วไปที่นำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการลดเสียง มักมาจากกฏหมายควบคุมการเสียงดังในพื้นที่ทำงาน หรือในชุมชน ในพื้นที่ชุมชน ควรคำนึงถึง ระดับเสียงที่มีอยู่แล้ว Background ที่อุณหภูมิบรรยากาศ (Ambient) และบวกไปอีกประมาณ 5 เดซิเบล(เอ) จากระดับเสียงที่ไม่มีอุปกรณ์ในชุมชน หรือพื้นที่นั้นๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฏหมายว่า ยอมให้มีระดับเสียงดังได้เท่าไหร่ ระดับเสียงอีก 5 เดซิเบล(เอ) ที่เพิ่มขึ้น เป็นระดับเสียงในช่วงความถี่กว้าง (board band noise) ที่มีระดับเสียงที่มีความถี่เดี่ยวที่ยังรับไม่ได้อยู่ (single frequencies)

การจัดการกับการร้องเรียนเรื่องเสียงดังจากชุมชน ทั้งระดับเสียงที่ทำนาย และระดับเสียงที่วัดได้ เราควรต้องคิดเผื่อไว้มากๆ ว่า ต้องสร้างระบบการควบคุมเสียงให้กับเสียงที่ดังที่สุดในของระบบ หรือ ระดับเสียงที่ดังที่สุดของอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งระดับเสียงในชุมชนมักมีระดับความดังเปลี่ยนแปลงประมาณ +/- 10 เดซิเบล(เอ) จากระดับความดังเฉลี่ยที่สภาวะ Ambient (เช่น ความเร็วลม อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง และ turbulence ของสภาพอากาศ) เป็นที่ทราบกันดีว่า ก่อนที่จะมีการร้องเรียน ผู้ร้องเรียน รับรู้ถึงระดับเสียงแบบไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตัวแล้วจึงร้องเรียน และเมื่อรู้ตัวแล้วยิ่งเข้ามาเพ่งเล็ง มากขึ้น และรู้สึกว่า เสียงดังมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หลังจากที่ได้ทำการลดเสียงแล้ว และถึงแม้ว่า ระดับเสียงที่ลดได้จะมากแล้ว และผ่านกฎหมายการควบคุมเสียง แต่เราพบว่า บ่อยครั้ง ยังมีการร้องเรียนเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้น การลดปัญหาการร้องเรียน จึงดีกว่า ที่เราจะออกแบบระบบการควบคุมเสียง ที่เป็นที่รับทราบโดยทั่วกันก่อนในชุมชน และยังมีราคาถูกกว่าอีกด้วย

ในการนำเสนอทั้งระบบการควบคุมเสียง และ สินค้าใหม่ ในการควบคุมเสียง เราต้องมีการบ่งชี้ หรือหาแหล่งกำเนิดเสียงที่ชัดเจน และจัดลำดับของแหล่งกำเนิดเสียงว่า แหล่งใดดังที่สุดไปหาต่ำที่สุด และเมื่อมีการประเมิน เลือกวิธีการควบคุมเสียงที่ชัดเจนแล้ว รวมถึงการคิดค่าใช้จ่ายในการลดเสียงแล้ว จากทางเลือกต่างๆ ในการลดเสียง ตามที่ได้กล่าวข้างต้นว่า การใช้ระบบใหม่มาคลอบเพื่อควบคุมเสียง มักมีราคาสูงกว่า ระบบ หรืออุปกรณ์ที่กำเนิดเสียงต่ำ ดังนั้น ในการทำงาน เราควรตั้งกระทู้ถามคำถามเกี่ยวกับความคุ้มค่า ในการเพิ่มอุปกรณ์ลดเสียงในแต่ละจุด เพื่อให้แหล่งกำเนิดเสียงยังสามารถทำงานต่อไปได้ โดยเรียงลำดับความสำคัญของการทำงานของระบบเทียบกับราคาในการควบคุมเสียง และความเป็นไปได้ในการเพิ่มระบบควบคุมเสียง
การทำนายระดับเสียงในชุมชน และการคำนวณผลของการใส่ระบบการควบคุมเสียงมักมาจากการพิจารณาระดับเสียงในช่วงความถี่แบบ Octave โมเดลที่ใช้ในการทำนายมักมีความถูกต้องไม่เพียงพอในการทำนายระดับเสียงในย่านความถี่ที่ความละเอียดมากขึ้น finer frequency resolution หรืออาจกล่าวได้ว่า ในย่านความถี่ที่ละเอียดมากขึ้นนี้ ไม่สามารถทำการทำนายการควบคุมเสียงได้อย่างถูกต้อง บางครั้ง เราพบว่า การทำนายตามย่านความถี่ของ Octave นี้ มักได้ผลที่อาจสูงกว่า หรือต่ำกว่า ค่าที่ได้จากการคำนวณตามโมเดล บางครั้งจำเป็นต้องมีการทำนายค่าตาม 1/3 ของย่านความถี่ของ Octave เพื่อให้การทำนายได้ละเอียด และถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น

ถ้าการร้องเรียนมาจากผู้ทำงาน การควบคุมเสียงต้องทำให้ผ่านกฏหมาย และลดความสูญเสียระบบการได้ยิน เป้าหมายในการควบคุมเสียงต้องทำให้ระดับเสียงดังไม่เกิน 80 เดซิเบล (เอ) เป้าหมายในการลดเสียงจะได้กล่าวในบทที่ 4 การวัดและการคำนวณควรทำในย่านความถี่อย่างน้อยที่ Octave หรือที่ 1/3Octave โดยมีการพิจารณาความถี่หรือโทนเสียงเฉพาะที่ต้องการควบคุม โดยอาจใส่ระบบการควบคุมแยกต่างหากอีกครั้งหนึ่ง
รายละเอียดในการวัดการควบคุมเสียง หาอ่านได้จาก ISO 11690/2 (1996)
ปัญหาเรื่องเสียงดัง ที่ได้อธิบายมาข้างต้น นี้ เป็นปัญหาจากเสียงเดินทางผ่านมายังมนุษย์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับเสียง (receiver) การควบคุมเสียงอาจทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งมักเป็นผลจากการพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน และการได้รับการยอมรับในประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงระบบการเดินทางของเสียง และในด้านของผู้รับเสียงเอง ซึ่งเราแก้ปัญหาได้ทั้งการลดเสียงที่เดินทางมา หรือ การลดเสียงที่ตัวผู้รับเสียง เช่น การหาอุปกรณ์ป้องกันเสียงให้กับผู้รับได้เช่นกัน


การปรับปรุงแหล่งกำเนิดเสียงให้มีเสียงลดลง
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของพลังงาน เพื่อลดเสียงดัง เป็นการควบคุมเสียง เช่น เสียงที่เกิดจากการกระแทก หรือเจาะ การลดทำโดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน โดยเปลี่ยนจากระบบของขบวนการทำงานเชิงกล (Mechanical process)
เสียงที่ดังกระแทกระหว่างของแข็ง ควรทำการลด เช่น การไหลของกระป๋องลงในตระกร้า อาจลดได้โดยการลดความสูง ไม่ให้กระป๋องกลิ้งลงมาทันที หรือการกลิ้งกระป๋องอาจใช้แผ่น กดกระป๋องไว้ และตัวรับกระป๋องที่กลิ้ง อาจปรับระดับความสูงได้ เป็นต้น
การเปลี่ยนวัดสุ จากเหล็กเป็นพลาสติก เป็นตัวอย่างที่ดีในการลดเสียง
การใช้ระบบที่ใช้ไฟฟ้า แทนการใช้ระบบขับด้วยลม ก็เป็นการลดเสียงอีกวิธีหนึ่ง
การขบกันของเกียร โดยการแทนที่ Spur gear ด้วย Helical gear มักทำให้เสียงลดลงได้ถึง 10 dB
การใช้ระบบการขับเครื่องเชิงกล แทนการขับเคลื่อนด้วยลมในงานปั้ม หรือกด หรือยิ่งไรเวทด้วยลม
การใช้มอร์เตอร์ไฟฟ้า แทนระบบเครื่องยนต์แบบการขับเคลื่อนด้วยกังหัน หรือ ใช้สายพานลำเลียงด้วยระบบ ไฮโดรลิค แทนระบบกล่องเกียร ที่มีเสียงดังกว่า
ฯลฯ อ่านในหนังสือเอานะจ๊ะ เยอะๆ
การสร้างโปรแกรมการควบคุมเสียงในพื้นที่ปัจจุบัน ทำได้ดังนี้
ประเมินสภาพแวดล้อม ที่มีปัญหาเสียงดัง และทำการวัดหาค่า noise contour
ตั้งวัตถุประสงค์ในการลดเสียงที่ชัดเจน
ชี้ตำแหน่งที่เสียงมีการเดินทาง และขบวนการกำเนิด และกระจายเสียงที่ชัดเจน
ลำดับแหล่งกำเนิดเสียงที่ทำให้เสียงดังเกินกว่า กำหนด หรือ ระดับที่รับได้
สร้างรูปแบบการลดเสียง และทำตารางการลดเสียง
ทำการลดเสียงตามแผน
ประเมินผลว่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่