วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ฉนวนซับเสียงของบริษัทฉัน




โลกเราทุกวันนี้ มีแต่เสียงที่ไม่น่าพิศมัยเกิดเพิ่มขึ้นทุกวัน ชีวิตมีแต่ความรีบเร่ง ตื่นเต้น แหล่งกำเนิดเสียงไม่เพียงแต่หยุดตัวเองลงไม่ได้ แต่มันยังเพิ่มความเครียดให้กับผู้ที่ได้ยิน มันอีกด้วย ปัญหาเกี่ยวกับเสียง กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกในปัจจุบัน ดังนั้น การป้องกัน หรือควบคุมเสียงจึงมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชน ตึกใหญ่ หรือแม้แต่ที่พักอาศัย และนำไปสู่การพัฒนาวัสดุ เพื่อนำมาใช้เป็นฉนวนในการควบคุมเสียง ไม่ว่าจะเป็นฉนวนซับเสียง ซึ่งมีความสามารถในการซับเสียงต่อความหนามากขึ้นกว่า ฉนวนซับเสียงที่ใช้กันทั่วไป ประสิทธิภาพของฉนวนกำลังเป็นที่ต้องการในการใช้งานลดเสียงนั่นเอง

แหล่งกำเนิดเสียงจากท่อลำเลียง และภาชนะรองรับ
ในการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะท่อลำเลียง และภาชนะรอรับแก๊ส หรือของเหลวล้วนแต่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงทั้งสิ้น ยิ่งอัตราการไหลเร็วขึ้นเท่าใด เสียงที่เกิดขึ้น ก็จะเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอัตราการไหลที่ไม่คงที่ หรือการไหลที่ต้องผ่านอุปสรรคต่างๆ เช่น ตะแกรงร่อน ประตู ช่องดักของเหล็ก หรือ ผ่านวาล์ว เป็นต้น การไหลเหล่านี้เรียกว่า Turbulence flow ล้วนแต่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงทั้งสิ้น


รูปที่ 1 เมื่อของไหลถูกส่งผ่านด้วยอัตราเร็วสูง ท่อลำเลียงของไหล จะกลายเป็นแหล่งกำเนิดเสียงได้

นอกจากหลักการลดเสียง โดยการกั้น และกระจายเสียง การดูดซับเสียงก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดเสียง ซึ่งรวมไปถึงการหุ้มฉนวน หรือใช้เปลือกหุ้มท่อลำเลียง และภาชนะบรรจุ โดยทั่วไปการหุ้มฉนวนเพื่องานร้อน หรือเย็น มักมีคุณสมบัติร่วมในการลดเสียงได้เช่นกัน ฉนวนที่ใช้ทั่วไปมักผลิตจากวัสดุประเภทเส้นใย เช่น ใยหิน หรือ ใยแก้ว โดยมีเปลือกที่ทำด้วยแผ่นอลูมิเนียม หรือ สแตนเลส หรือแผ่นเหล็กชุบผิว หุ้มทับอีกชั้นหนึ่ง ประสิทธิภาพในการควบคุมเสียงของระบบเหล่านี้ขึ้นกับความหนาของวัสดุเส้นใย และชนิดของเปลือกหุ้ม

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ฉนวนประเภทเส้นใยในการควบคุมเสียงมักมีข้อจำกัด เนื่องจากวัสดุเส้นใยเป็นเซลล์เปิด จึงไม่สามารถที่จะนำมาติดตั้งในงานที่มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าบรรยากาศ ตามหลักการถ่ายเทความร้อน ฉนวนต้องทำหน้าที่ป้องกันการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของระบบ และป้องกันการแทรกซึมของไอน้ำ หรือทนทานต่อความดันไอได้ ดังนั้น ฉนวนชนิดเซลล์เปิด เช่น ใยหิน หรือใยแก้ว ในไม่ช้า ก็จะเปียกชื้นเนื่องจากเกิดการแทรกซึมของไอน้ำ ส่วนระบบที่มี ความชื้นสูง เช่น งานภายนอก ยิ่งต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของเปลือกหุ้มฉนวน ช่องว่างระหว่างฉนวน และเปลือกหุ้ม กลายเป็นแหล่งที่ทำให้ ประสิทธิภาพในการลดเสียงลดลง รวมไปถึงการลดลงของประสิทธิภาพของฉนวนในการหน่วงความร้อนด้วย นอกจากนี้ ยังผลให้เกิดการกัดกร่อนท่อเหล็ก หรือภาชนะบรรจุใต้ผิวฉนวนได้อีก และนำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมแทนที่จะได้ คุณภาพในการลดเสียง หรือการหน่วงความร้อน ซึ่งผลดังกล่าวล้วนแต่เป็นผลที่เกิดขึ้นได้กับฉนวนประเภทเส้นใยได้ทั้งสิ้น

ฉนวนยางที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียง
ฉนวนยางชนิดเซลล์ปิด ถูกนำมาใช้เป็นตัวเลือกในอุตสาหกรรมมากขึ้น การทดสอบล่าสุดถึงคุณสมบัติในการป้องกันเสียง ของฉนวนยาง ArmaflexÒ แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของฉนวนยางนั้น สามารถป้องกันเสียงที่เลื่อนผ่านตัวกลางที่มีโครงสร้าง (structure-borne) การเลื่อนผ่านของเสียงผ่านตัวกลางของแข็ง ถูกทำให้ลดลงได้สูงสุดถึง 30 เดซิเบลด้วยการหุ้มฉนวน เมื่อเทียบกับระบบที่ไม่ได้หุ้มฉนวน การลดเสียงได้มากน้อยขึ้นกับความหนาของฉนวน จากการทดสอบพบว่า ฉนวนยาง Armaflex ดูดซับเสียงที่คลื่นความถี่สูงได้ดี แต่ดูดซับเสียงที่คลื่นความถี่ต่ำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ผลการทดสอบยังพบอีกว่า คุณภาพในการซับเสียงดีมากขึ้น เมื่อมีการหุ้มเปลือกโลหะเพิ่มเข้าไป แต่ถึงกระนั้น ก็ตาม ฉนวนยาง เซลล์ปิดก็ยังไม่สามารถช่วยลดเสียงลงมาได้ในระดับที่น่าพอใจ ในอุตสาหกรรม

การเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันเสียงของฉนวนยาง จึงต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงมากขึ้น นั่นคือ การเพิ่มประสิทธิในการดูดซับเสียงที่ผ่านอากาศ และเปลี่ยนพลังงานเสียง ไปเป็นความร้อนแทน ถ้าเรานำฉนวนเซลล์ปิดมาใช้เป็นวัสดุดูดซับเสียง อากาศที่เป็นตัวกลางในการเคลื่อนผ่านของเสียง ก็ไม่สามารถเดินทางผ่านเข้าออกในเซลล์ปิดได้ จึงทำให้ประสิทธิภาพการลดเสียงไม่ได้ตามต้องการ

เพื่อที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงของฉนวนยางดีขึ้น จากผลงานการวิจัยถึงสี่ปีเต็ม บริษัทอาร์มาเซล ร่วมกับ มหาวิทยาลัย เบรดฟอร์ด (Bradford University) ในประเทศอังกฤษ ได้พัฒนาฉนวนยาง ArmaSound ซึ่งเป็นวัสดุยางที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงที่คลื่นความถี่ทุกช่วงที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม และงานอุตสาหกรรม ArmaSound เป็นผลจากการเปลี่ยนโครงสร้างของฉนวนยางชนิดเซลล์ปิด มาเป็นวัสดุที่เป็นเซลล์เปิด ในโครงสร้างระดับ ไมโคร (micro-structure open-cell) ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ ทำให้ฉนวนยางสามารถประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงของวัสดุได้ในทุกช่วงคลื่นความถี่ ในรูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงสัมประสิทธิการดูดซับเสียง (sound absorption coefficient, as) ที่ความหนาต่างๆ กัน โดยมาตรฐาน DIN EN 20354 ค่า as เป็นอัตราส่วนของการดูดซับพลังงานเสียงเทียบกับแหล่งกำเนิดเสียง โดยค่า as = 0 หมายถึงฉนวนมีคุณสมบัติสะท้อนเสียงได้อย่างสมบูรณ์ และค่า as =1 หมายถึง ฉนวนมีคุณสมบัติในการการดูดซับเสียงไว้ได้ทั้งหมด จากรูปที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ที่ความหนาของฉนวน 25 มิลลิเมตร ฉนวนยาง ArmaSound มีความสามารถในการดูดซับเสียง หรือสัมประสิทธิการดูดซับเสียง as เท่ากับ 0.8 ที่ความถี่ 520 เฮิร์ท



รูปที่ 2 แสดงความสามารถในการดูดซับเสียงของฉนวนยาง ArmaSound ที่ความหนาต่างๆ ตามมาตรฐาน DIN EN 20354 (ISO 354)


ความต้องการในการลดเสียงตามมาตรฐาน ISO 15665
ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นในบทความนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเสียงที่เกิดมาจากท่อลำเลียง มาตรฐาน ISO 15665 ว่าด้วยเรื่องของ “ Acoustic insulation for pipes, valves and flanges” หรือฉนวนที่ลดเสียงที่เกิดจากท่อลำเลียง วาล์ว และหน้าแปลน ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ ที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของฉนวนป้องกันเสียง มาตรฐานนี้ ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการเคมี ปิโตรเคมี และอุตสหกรรมอื่นๆ ประยุกต์ใช้มาตรฐานนี้ได้


เพื่อที่จะลดเสียงที่ทะลุผ่านท่อ และอุปกรณ์เครื่องกล มาตรฐานนี้จึงได้นิยาม Classหรือระดับเสียงขึ้น อันได้แก่ Class A, B และ C โดยให้ Class A เป็นระดับเสียงที่ลดลงได้น้อยสุด และ Class C เป็นระดับเสียงที่ลดได้สูงที่สุด ตามตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ค่า insertion loss หรือเสียงที่ลดลงได้ต่ำสุดของฉนวนที่หุ้มในท่อแบบต่างๆ ถูกทดสอบเพื่อให้ได้ตามระดับเสียงที่ลดได้ ตาม Class ต่างๆ ในช่วงคลื่นความถื่แปดช่วง (octave band centre frequency) ถ้าวัสดุใดที่มีค่าในการลดเสียงที่ต่างไปจาก Class ที่กำหนด ก็ให้ลดระดับของ Class ให้ต่ำลง เพื่อให้การจัดระดับเสียงแตกต่างกัน จึงต้องมีการกำหนดระดับเสียงที่ลดได้ตามขนาดของท่อด้วย



Class
Nominal pipe diameter

D
Mm
Octave band centre frequency, Hz
125
250
500
1000
2000
4000
8000
Minimum insertion loss, dB
A1
A2
A3
D < 300
300 ≤ D < 650
650 ≤ D < 1000
-4
-4
-4
-4
-4
2
2
2
7
9
9
13
16
16
19
22
22
24
29
29
30
B1
B2
B3
D < 300
300 ≤ D < 650
650 ≤ D < 1000
-9
-9
-7
-3
-3
2
3
6
11
11
15
20
19
24
29
27
33
36
35
42
42
C1
C2
C3
D < 300
300 ≤ D < 650
650 ≤ D < 1000
-5
-7
1
-1
4
9
11
14
17
23
24
26
34
34
34
38
38
38
42
42
42
ตารางที่ 1 ค่าการลดเสียงต่ำสุด (minimum insertion loss) ตามคลาสต่างๆ ในมาตรฐาน ISO 15665:2003


การเตรียมการทดสอบ
รายละเอียดในการเตรียมการทดสอบ และวิธีการทดสอบสามารถหาอ่านได้จากมาตรฐาน ISO15665 ซึ่งไม่ได้ให้รายละเอียดในบทความนี้ แต่สามารถอธิบายได้สั้นๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นว่า วิธีการทดสอบนี้ริเริ่มทดสอบโดยบริษัท Peutz bv ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ตามรูปที่ 3 แสดงให้เห็นถึงผลการทดสอบจากแหล่งเสียงแบบต่างๆ โดยใช้ท่อลำเลียงซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเสียงยาว 5,560 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 323 มิลลิเมตร และท่อหนา 6.3 มิลลิเมตร เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกท่อใหญ่กว่า >300 มิลลิเมตร ระดับเสียงจะถูกเรียกว่า Class A2, B2 และ C2 ตามข้อกำหนดในตารางที่ 1
ฉนวนซับเสียงถูกหุ้มเข้าท่อในห้องควบคุมที่ไม่มีเสียงสะท้อน (reverberation room) และห้องปิดซีลด้วยยางไม้ หรือยางป้องกันเสียงทะลุผ่านระหว่างพื้นที่ทั้งสอง การวัดเสียงในห้องที่มีท่อที่ไม่ได้หุ้มฉนวน ค่าความดันเสียงถูกวัดโดยใช้ไมโครโฟน ตามมาตรฐาน ISO 3741 ตั้งแต่คลื่นความถี่ 100 ถึง 10,000 เฮิร์ท

ค่า insertion loss ในแต่ละคลื่นความถี่คำนวณได้จากสูตรนี้

Dw = Lb – Lc – (Lbr – Lcr)

เมื่อ: Dw คือ ค่า เสียงที่ลดลง หรือ insertion loss หน่วยเป็นเดซิเบล (dB)
Lb คือ ค่าเฉลี่ยความดันเสียง ในช่วงความถี่ 1/3 ของค่า Octave ในท่อที่ไม่หุ้มฉนวน หน่วยเป็น เดซิเบล (dB)
Lc คือ ค่าเฉลี่ยความดันเสียง ในช่วงความถี่ 1/3 ของค่า Octave ในท่อที่หุ้มฉนวน หน่วยเป็น เดซิเบล (dB)
Lbr คือ ค่าเฉลี่ยความดันเสียง ในช่วงความถี่ 1/3 ของค่า Octave เปรียบเทียบระหว่างห้อง กับแหล่งกำเนิดเสียงจากท่อที่ไม่มีฉนวนหุ้ม หน่วยเป็น เดซิเบล (dB)
Lcr คือ ค่าเฉลี่ยความดันเสียง ในช่วงความถี่ 1/3 ของค่า Octave เปรียบเทียบระหว่างห้อง กับแหล่งกำเนิดเสียงจากท่อที่มีฉนวนหุ้ม หน่วยเป็น เดซิเบล (dB)

ค่า insertion loss ที่คลื่นความถี่ octave band frequency คำนวณได้จาก 1/3 ของค่า octave band frequency ดังนี้



เมื่อ: Dwi คือ ค่า insertion loss ต่อความถี่ 1/3 Octave band





รูปที่ 3 : การเตรียมการทดสอบตามมาตรฐาน ISO 15665


วิธีการทดสอบ
โดยทั่วไป การทดสอบต้องได้ทั้งประสิทธิภาพในการซับเสียง และการหน่วงความร้อนหรือความเย็น ของท่อ จึงมีการทดสอบเพื่อให้บรรลุทั้งสองวัตถุประสงค์ โดยการทดสอบทำกับท่อน้ำชิล เนื่องจากฉนวนยาง ArmaSound เป็นฉนวนชนิดเซลล์เปิด จึงใช้กับงานเย็นไม่ได้ดี แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าฉนวนยางชนิดเซลล์ปิดสามารถใช้งานได้ดีกับงานเย็น จึงได้มีการนำฉนวนทั้งสองมาประกบใช้ร่วมกันระหว่างฉนวนยางเซลล์เปิด และเซลล์ปิด

การทดสอบเบื้องต้นกับท่อขนาดเล็ก ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า ฉนวนที่ซับเสียงต้องมีคุณสมบัติได้ตามมาตรฐาน ISO 15665 และต้องเลือกใช้วัสดุที่เป็นลักษณะแซนวิชกัน โดยมีความบางมากที่สุด โดยทั่วไปฉนวนหุ้มต้องทนทานต่อ และปกป้องต่อการกระแทก หรือฉีกขาดเชิงกล เปลือกหุ้มฉนวนจึงส่งผลเสริมคุณสมบัติของฉนวนทางเสียงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเปลือกหุ้มที่นิยมใช้มักเป็นเปลือกหุ้มที่ทำจากโลหะ ทางเลือกอื่นๆ ของเปลือกหุ้มก็มีให้เลือกได้อีก ได้แก่ เปลือกหุ้มฉนวนประเภทยางสังเคราะห์ เช่น Arma-Chek R ซึ่งเป็นเปลือกหุ้มที่ไม่ใช่โลหะจึงตัดปัญหาการกัดกร่อนท่อ หรืออุปกรณ์โลหะไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ฉนวนยางเซลล์ปิด ยังลดความเสี่ยงต่อการกัดกร่อนใต้ผิวฉนวนได้อย่างมาก (Under Insulation Corrosion, U.I.C.) ยังคงมีงานที่เปลือกหุ้มฉนวนประเภทโลหะยังคงเป็นที่นิยมอยู่ จึงมีผลการทดสอบตามภาพที่ 4 ถึง 6 รวมอยู่ในการทดสอบนี้ด้วย ผลการทดสอบเป็นดังรายละเอียดข้างล่างนี้



รูปที่ 4 ฉนวนยาง ArmaSound สำหรับงานอุตสาหกรรม ระบบ B (system B ปลือกทำด้วยยางสังเคราะห์)



รูปที่ 5 ฉนวนยาง ArmaSound สำหรับงานอุตสาหกรรม system C (เปลือกทำด้วยยางสังเคราะห์)


รูปที่ 6 ฉนวนยาง ArmaSound สำหรับงานอุตสาหกรรมระบบ C (system C เปลือกทำด้วยโลหะ)

ฉนวนยางระบบ B (เปลือกทำด้วยยางสังเคราะห์) ซึ่งประกอบด้วย ชั้นที่หนึ่งเป็นฉนวนยางเซลล์ปิด Armaflex (หนา 25 ม.ม.) ชั้นที่สองประกบกับฉนวนยาง ArmaSound (หนา 25 ม.ม.) และเปลือกหุ้มฉนวนทำด้วยยางสังเคราะห์ Arma-Chek R (หนา 2 ม.ม.) ส่วนฉนวนยาง ระบบ C (เปลือกทำด้วยยางสังเคราะห์) และเพิ่มชั้นของ ArmaSound Barrier E (หนา 2 ม.ม. และ 3 ม.ม.) ถูกประกบเพิ่มเข้าไปอีก ซึ่งระบบ C เป็นเปลือกหุ้ม หรือเป็นฟอยล์พลาสติกที่ใช้กับงานหนัก ช่วยลดการทะลุผ่านของเสียงผ่านตัวนำอากาศ และยังช่วยลดเสียงจากการสั่นสะเทือนผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ส่วนฉนวนยางระบบ C (เปลือกทำด้วยโลหะ) ซึ่งประกอบด้วยชั้นของฉนวนยาง Armaflex (หนา 32 ม.ม.) ประกบกับ ArmaSound (หนา 25 ม.ม.) และเปลือกหุ้มฉนวนโลหะ Okabell (เป็นแผ่นโลหะกัลวาไนซ์ ผลิตโดยบริษัทอาร์มาเซล) Okabell เป็นเปลือกโลหะ ที่ภายในมีแถบฉนวนยาง Armaflex ที่ปิดตามช่องว่างภายใน และยังมีชั้นของ ArmaSound Barrier หนา 2.3 มิลลิเมตรอยู่ภายใน เพื่อช่วยลดเสียงสะท้อนอีกด้วย










Class ของวัสดุฉนวนที่ประกบกัน


รูปที่ 7 ประสิทธิภาพในการซับเสียงของ ArmaSound ระบบ B (เปลือกหุ้มทำด้วยยางสังเคราะห์)

จาก รูปที่ 7 แสดงให้เห็นว่าเสียงที่ดังมาจากแหล่งกำเนิดท่อเพียงเล็กน้อย สามารถลดเสียงได้ตามคลาส B2 ได้ในทุกๆ ช่วงความถี่


รูปที่ 8 ประสิทธิภาพในการซับเสียงของ ArmaSound ระบบ C (เปลือกหุ้มทำด้วยยางสังเคราะห์)


รูปที่ 9 ประสิทธิภาพในการซับเสียงของ ArmaSound ระบบ C (เปลือกหุ้มทำด้วยโลหะ)

จากรูปที่ 8 และ 9 ระบบฉนวนซับเสียงระบบ C (เปลือกทำด้วยยางสังเคราะห์) และ ระบบ C (เปลือกทำด้วยโลหะ) มีคุณสมบัติในการซับเสียงได้ดีกว่ามาตรฐาน Class C2 ในทุกๆ ช่วงความถี่

สรุป
บริษัทอาร์มาเซล ประสบความสำเร็จในการพัฒนาฉนวนยาง ArmaSound ที่ช่วยดูดซับเสียงได้ดีเยี่ยม และยังช่วยหน่วงความร้อน ความเย็นได้ด้วย กลุ่มสินค้าซับเสียงหลายระบบ ที่ประกบกับฉนวนยาง ArmaSound มีหลายชนิด ปัจจุบัน อาร์มาเซล ผลิตระบบฉนวนเพื่องานเย็น และยังช่วยซับเสียงจากท่อลำเลียง วาล์ว และหน้าแปลน ได้ตามมาตรฐาน ISO 15665 ซึ่งในทุกๆ ระบบ พบว่า ระบบฉนวนแซนวิช มีคุณสมบัติในการซับเสียงที่ดีกว่าทุก Class ตามมาตรฐาน ISO 15665 และเมื่อเปรียบเทียบกับระบบซับเสียงที่ใช้กันทั่วๆ ไป ในงานก่อสร้าง ที่ผ่านมาตรฐานเดียวกัน ความหนาของฉนวน ArmaSond ในระบบใหม่นี้ บาง และเบากว่าอย่างมาก
การเปรียบเทียบคุณสมบัติฉนวนยาง ArmaSound เพื่องานซับเสียงในอุตสาหกรรม พบว่า โครงสร้างเซลล์ปิด ช่วยลดการแทรกซึมผ่านของความชื้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการกัดกร่อนใต้ผิวฉนวน (Under Insulation Corrosion, U.I.C.) และเปลือกหุ้มฉนวนที่ทำด้วยยางสังเคราะห์ ผลิตจากวัสดุเซลล์ปิด การเกิดสนิมเหล็ก บนผิวของเปลือกหุ้มจึงไม่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าผู้ใช้งานต้องการใช้เปลือกหุ้มฉนวนประเภทโลหะ การผสมผสานกันระหว่างฉนวนยางเซลล์เปิด และเซลล์ปิด ยังช่วยลดเสียงดัง และลดพลังงาน ได้อย่างดี โดยสรุป ระบบฉนวนใหม่ที่พัฒนาขึ้นนี้ทำให้ได้ระบบฉนวนที่ลดเสียงได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมตามต้องการได้

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ผลิตฉนวนยาง กับ หมั่นโถว มันคล้ายกันมากเลยนะจ๊ะ






















ฉนวนยาง เส้นๆ และข้างในเป็นเซลล์ปิด ใครจะรู้ว่า เคล็ดลับการผลิต มันเหมือน กับทำซาลาเปา หรือ หมั่นโถวเราดีๆ นี่เอง เข้าใจศิลปะการทำขนม ของชนชาติจีน ทำให้ผลิตฉนวนยางได้ อย่างชนิดที่เรียกว่า เหมือนกันอย่างกับแกะ ผิดกันที่ฉนวนยาง เป็นสีดำ กินไม่ได้ แต่ใช้กันความร้อนได้ แต่ซาลาเปา หรือหมั่นโถว เรานี่สีขาว หรือสีเขียว แถมบางทีใส่ไส้ได้ด้วยนะคะ สูตรการทำแป้งซาลาเปา หรือ หมั่นโถว ของบ้านเรา เป็นดังนี้



ส่วนผสม : แป้งทำซาลาเปา ตรากิเลน สีเหลือก 1 ก.ก.
ผงฟู 1 ซอง
ยีสต์ผง 1 ซอง
น้ำ 460 กรัม
น้ำตาล 250 กรัม
เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำ : 1. นำแป้งกิเลนมา 700 กรัม ผสมกับยีสต์ 2 ช้อนโต๊ะ และ ผงฟู 2 ช้อนโต๊ะ กับน้ำ 460 กรัม ผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปนวดในเครื่องนวด ถ้าไม่มีเครื่อง ก็ใช้สองมือ ของเรานี่แหละนวดให้เข้ากัน และทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จะพบความประหลาดใจของการทำปฏิกิริยาเคมี ระหว่างผงฟู ยีสต์ และแป้ง กับน้ำ ว่า มันจะฟูขึ้น ฟู ขึ้น จนได้ขนาดแป้ง ใหญ่ฟูขึ้นอีก 1 เท่าตัวเลยแหละ

2. เมื่อมันฟูได้ที่ ระหว่างนี้ ใครอยากได้ไส้อะไร ก็ทำกันเอาเองนะ ไม่ว่าจะหมูแดง เผือก หมูสับ ครีม ก็ทำเอา แต่ว่า เรื่องไส้ไว้คุยกันคราวหน้า เพราะวันนี้ พระเอก เป็นหมั่นโถว ที่มันเหมือน กับ Insulation นั่นเอง

3. นำแป้งที่ฟูได้ที่ใส่ในกะละมัง หรืออ่าง หรือวางบนโต๊ะ พอให้นวดได้ หรือใส่ในเครื่องผสมอาหาร ก็ได้ ถ้าใครมีฐานะพอซื้อเครื่องได้บ้าง จากนั้น นำแป้ง กิเลนที่เหลือในถุงอีก 300 กรัม มาผสมกับแป้งฟู แล้ว ผสมน้ำตาล เกลือก และผงฟูอีก 2 ช้อนโต๊ะ นวดให้เข้ากันเป็นเนื้อเนียนนุ่ม แค่นี้ ก็ได้ แป้งสำหรับมาปั้นเป็นหมั่นโถวหรือซาลาเปากันแล้ว ง่ายไหมจ๊ะ

4. ถึงขั้นตอนการนวดนี่สิ มันเป็นฝีมือเฉพาะตัว บางคน นำแป้ง มาคลึง เป็นก้อนกลม แล้วนำไปนึ่ง ได้เลย บางคนมาปั้นเป็นเส้น แล้วขดแป้ง Antie Aunt ก็ได้นำคะ แล้วแต่ใครจะมีจินตนาการกันแบบไหน



นึ่งเสร็จก็ได้หมั่นโถว สวย แต่อย่าลืม วางมันไว้บนกระดาษนะคะ

ส่วนวิธีการทำฉนวนยาง มันก็ต้องมีแป้งฟูเหมือนกันนั่นแหละ แต่เค้าเรียกว่า Master Batch เอายางมาตี ๆ ด้วยเครื่อง Bambery บางทีก็ใช้ Two rolls mill ตี แล้วก็ผสมผงฟู หรือแป้งฟู แล้วก็เพิ่มเนื้อด้วย CaCO3 บางทีก็เติมสารป้องกันไฟ เข้าไปบ้าง เพื่อให้เป็นวัสดุเหมาะกับอุปกรณ์ในงานก่อสร้าง ตีๆ เสร็จ ก็ต้องทิ้งไว้ให้เย็น แต่งานนี้ต้องเป่าด้วยพัดลมนะ แล้วจึงเข้าเครื่องฉีดออกมาเป็นท่อ หรือแผ่น ระหว่างนี้ ต้องเข้าเตาอบกันยาวเลย จึงใช้พลังงานนานกว่าทำ ซาลาเปา หรือหมั่นโถวมาก แต่สุดท้าย ก็เหมือนๆ กันนั่นแหละ
สูตรทำซาลาเปานี่เป็นของหยี่โกว พยายาม ค้นหา มานาน ทำซ้ำแล้ว ซ้ำอีก กะว่าถ้าไม่มีงานทำ ก็จะหันมาทำซาลาเปา ส่งร้านอาหารขายหน่อยนะ คงพออยู่ได้



































วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การเสนอราคา ไม่ใช่เรื่องยาก


ชีวิต เซลล์ วันหนึ่งๆ ต้องทำราคา พบผู้คน ทำตนให้เป็นประโยชน์กับลูกค้า แล้วก้อคิดอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ วันนี้ วันเดียวนั่งทำแต่ราคา คิดมันทุกมุม ไม่ว่า จะกำไร ขาดทุน น้ำหนัก การขนสินค้าให้ถึงมือลูกค้าอย่างคุ้มค่า ที่อุตหสาห์ ไปโม้กับเค้าไว้

ตอนนี้มันมีเยอะไปหมด ทำงานจนปวดคอ ปวดหลังเลยแหละ ยังนั่งคิดอยู่ว่า นั่งทำโน้นทำนี่ เยอะแยะไปหมด เพื่ออะไร


แต่ก็ได้ข้อสรุปว่า มันเป็นองค์ความรู้หนึ่งๆ ที่สามารถส่งต่อไปให้กับคนรุ่นหลังได้นะ เพราะความรู้ที่ได้จากการขาย นี่ เป็นอะไร ที่ดีมากๆ เราสามารถสร้างสิ่งที่คนคิดว่าทำไม่ได้ ให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้น มา อย่างเช่น


ฉนวน armafix-T ถือเป็นผลงานที่เราสร้างร่วมกับสุวรรณพอลิเมอร์ เลยนะ ตอนนี้ มันเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วละ ต่อไปก้อน่าจะเขียนโปรโมทตามเว็บต่างๆ แต่คงต้องหาข้อมูลเรื่องข้อดี ข้อเสียของสินค้า ชนิดนี้ กับ application แบบต่างๆ เสียก่อน เพราะเมืองนอก ของ armacell ไม่ค่อยจะชอบเท่าไหร่ ที่เรามาทำสินค้าตัว


ต้องเขียนบทความลงหนังสือ เรื่อง insulation เพราะก่อนที่จะเกิดมาเป็น insulation มันต้องคิดสารพัด ว่า สินค้าออกมาแล้ว มันจะเกิดหรือเปล่า ไม่ใช่ผลิตออกมาแล้ว ขายได้แค่ไม่กี่เดือน ก็ แป๊ก แบบนี้ ไม่ออกหรอกนะ